IoT Basic – ไอโอที พื้นฐาน

ข้อมูลหลักสูตรวิชา

รหัสหลักสูตร

CS130

ชื่อหลักสูตร

การพัฒนาอุปกรณ์และออกแบบเทคโนโลยี IoT ขั้นพื้นฐาน

IoT Technology Equipment and Design Development Basic

คำอธิบายหลักสูตร

การพัฒนาอุปกรณ์และออกแบบเทคโนโลยี IoT พร้อมภาคปฏิบัติ เน้นไปที่การแนะนำให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ IoT และสามารถพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ IoT เบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

กลุ่มเป้าหมาย และผลลัพธ์

นักเรียน, นิสิต, นักศึกษา, ผู้สนใจทั่วไป

เมื่ออบรมเสร็จสิ้น ผู้เข้าอบรมสามารถควบคุมอุปกรณ์และพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ IoT เบื้องต้น ทั้งพร้อมศึกษาต่อในหลักสูตรถัดไป

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

คำอธิบาย คลิกที่นี่

มีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์: จำเป็น

มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรม: ไม่จำเป็น

มีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักคอมพิวเตอร์: ไม่จำเป็น

เนื้อหาการอบรม

การอบรมจะให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์พื้นฐานคือ NodeMCU เข้ากับ Computer Notebook ของผู้เข้าอบรม และจะมีการฝึกการเขียนโปรแกรมภาษา C/C++ ที่ใช้ในการพัฒนา NodeMCU ด้วย Arduino IDE ให้รู้จักชนิดตัวแปล โครงสร้างการเขียนโปรแกรม อัลกอริทึมเบื้องต้น การใช้งานฟังก์ชั่น การใช้งานไลบรารี่ เข้าใจฮาร์ดแวร์ NodeMCU การใช้งานอินพุท (การนำข้อมูลเข้า) และเอาท์พุท (การสั่งงานควบคุม) แบบต่างๆ การใช้งานความสามารถภายใน NodeMCU การเพิ่มไลบรารี่ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ NodeMCU พร้อมตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานการรับส่งข้อมูลกับ Server ที่มีให้ใช้งานฟรีเช่น Firebase, Blynk, NETPIE, Cayenne โดยจะเน้นที่ Blynk เป็นหลัก ผ่าน Web App บน Smart phone และเทคนิคและการออกแบบระบบ Smart Home และ Smart Farm เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบวัดค่า, แสดงผล, วิเคราะห์ผลต่าง ๆ, ระบบการทำงานอัตโนมัติตามเวลาหรือตามเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น

วันที่ 1 ช่วงเช้า

  • เรียนรู้ระบบ Internet of Things (IoT) และตัวอย่างการใช้งาน IoT แบบต่าง ๆ
  • เรียนรู้โปรแกรม (Software Tools) ต่าง ๆ เช่น Arduino IDE ที่ใช้ในการเขียนบน NodeMCU เพื่อพัฒนาระบบ IoT และการลงโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ทั้งบน Windows และ OSX
  • เรียนรู้ Hardware ของ NodeMCU
  • เรียนรู้คำสั่งพื้นฐานในการเขียนภาษา C บน NodeMCU
  • เรียนรู้ Library ต่าง ๆ ที่มักใช้ในระบบ Smart Home
  • เรียนรู้การเขียนภาษา C/C++ บน NodeMCU
  • เรียนรู้การ Debugging NodeMCU ผ่าน Terminal
  • เรียนรู้การเขียนโปรแกรมสื่อสารระหว่างNodeMCU กับ Terminal

วันที่ 1 ช่วงบ่าย

  • เรียนรู้การเขียนโปรแกรมอ่านค่าจาก Input ของ NodeMCU
  • เรียนรู้การเขียนโปรแกรมส่งค่าออก Output ของ NodeMCU
  • เขียนโปรแกรมอ่านค่าอุปกรณ์วัดสัญญาณDigital พื้นฐานที่ใช้ในระบบ Smart Home ผ่านSwitch, Motion Sensor
  • เรียนรู้การเขียนโปรแกรมอ่านค่าอุปกรณ์วัดสัญญาณ Analog ผ่าน ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Potentiometer)
  • เรียนรู้การเขียนโปรแกรมอ่านค่าอุปกรณ์วัดที่ใช้การสื่อสารแบบพื้นฐานที่ใช้ในระบบ Smart Home ผ่าน เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น(DHT11)

วันที่ 2 ช่วงเช้า

  • เรียนรู้การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานตามเวลาที่กำหนด (Timer)
  • เรียนรู้การเขียนโปรแกรมส่งสัญญาณ PWM และสัญญาณแบบต่าง ๆ
  • เรียนรู้การเขียน NodeMCU เพื่อส่งข้อมูลไปยัง LINE Notify ใน Smart Phone
  • เรียนรู้การใช้ LINE Chatbot เพื่อเพื่อควบคุม NodeMCU ผ่าน LINE แอพพลิเคชั่น ใน Smart Phone
  • เรียนรู้และทำความเข้าใจระบบที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล และ ควบคุม ผ่านระบบ IoT เช่น NETPIE, Blynk, MQTT

วันที่ 2 ช่วงบ่าย

  • ทำความเข้าใจการสื่อสารระหว่าง NodeMCU กับ NETPIE พร้อมทั้งทดสอบการใช้งาน
  • ทำความเข้าใจการสื่อสารระหว่าง NodeMCU กับ Blynk พร้อมทั้งทดสอบการใช้งานและการสร้างโปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อระบบเข้ากับ Smart Phone
  • ทำความเข้าใจการของระบบ MQTT
  • เทคนิคและการออกแบบระบบ Smart Home เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบวัดค่า, แสดงผล และ วิเคราะห์ผลต่าง ๆ, ระบบการทำงานอัตโนมัติตามเวลาหรือตามเหตุการณ์ต่าง ๆเป็นต้น
  • ตัวอย่างและแนวทางการพัฒนาระบบ IoT เพื่อเชื่อมต่อกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ข้อมูลการอบรม

เวลาอบรม

9:00 – 16:00 น.

สถานที่อบรม

รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
    • ระบบปฏิบัติการ: Windows 8.1 ขึ้นไป, macOS 10.14 ขั้นไป
    • สิทธิ์ควบคุมคอมพิวเตอร์: จำเป็นต้องเป็นสิทธ์ Administration
    • CPU: Core i3 Gen 6 (หรือเทียบเท่า) ขั้นไป
    • RAM: 4 Gb ขั้นไป

สิ่งที่ AIAT Academy จัดเตรียม

  • ข้าวกลางวัน และขนมเบรค อย่างละ 1 ชุดในทุกวัน
  • บอร์ดทดลอง Breadboard จำนวน 1 ตัว
  • NodeMCU V3 Development Kit จำนวน 1 ตัว
  • เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว HC SR501 จำนวน 1 ตัว
  • เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น DHT11 จำนวน 1 ตัว
  • เซ็นเซอร์วัดความสว่าง LDR จำนวน 1 ตัว
  • รีเลย์สำหรับตัดวงจรแบบ 2 ช่อง จำนวน 1 ตัว
  • ไฟ LED 3 สี 5mm RGB LED จำนวน 1 ตัว
  • สาย USB to Micro USB จำนวน 1 เส้น
  • อุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้ในการทดลอง 1 ชุด

ค่าอบรมและการสมัคร

5,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพื่ม)

การโอนเงิน

ชื่อบัญชี: “สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย”
ธนาคาร: กรุงไทย สาขามธ.ศูนย์รังสิต
เลขที่บัญชี: 475-3-00156-3

เมื่อทำการโอนเสร็จสิ้น ท่านสามารถแนบหลักฐานการโอนเงินระหว่างการสมัคร

สมัคร / สำรองที่นั่ง คลิกที่นี่

เงื่อนไข

  • หากมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาแจ้งให้ทราบก่อนวันอบรมล่วงหน้า 7-10 วัน